คนไทยกับการรับรู้เรื่องอาเซียน

     จากคอลัมน์ รู้จักอาเซียน โดย คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

       กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียนณ กรุงจาการ์ตา รายงานผล “การสำรวจความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน” (Survey on ASEAN Community Building Efforts) ซึ่งจัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Ipsos Business Consulting การสำรวจครั้งนี้เป็นการวิจัยในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยผลการสำรวจความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนแสดงว่า ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมมีความเข้าใจพื้นฐาน และมีความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวกับอาเซียน โดยคาดหวังว่าเออีซีจะมีส่วนพัฒนาเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีผ่านการรับรู้จากสื่อต่าง ๆ       ส่วนผลสำรวจของภาคธุรกิจกลุ่มประเทศ CLMV กลับชี้ว่า มีความรู้สึกในเชิงลบ โดยมองว่าประเทศที่พัฒนามากกว่าจะเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าในการรวมตัวของเออีซี

        ด้านผลสำรวจของบุคคลทั่วไปนั้นเห็นว่า ประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน คือ “สันติภาพและความมั่นคง” รองลงมาคือ การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเปิดภาคบริการอย่างเสรี ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการทำงานในอาเซียน ขณะเดียวกันจะส่งผลให้อัตราค่าแรงของแรงงานต่างด้าวสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อแรงงานท้องถิ่น อันอาจจะเกิดเป็นปัญหาสังคมตามมา ส่วนภาคประชาสังคมมองว่า ภายหลังจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ภาคการท่องเที่ยวจะเติบโตมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา แต่ก็จะยกระดับเศรษฐกิจในภาพรวมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน

      ทั้งนี้ คนที่สามารถสื่อสารได้หลายภาษาจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มของอาเซียนมากที่สุด

      นอกจากนี้ยังมีการสำรวจเรื่อง“ความเข้าใจอันดีต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” พบว่าคนไทย 25% มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งอยู่ในอันดับ 5 โดยที่อันดับ 1 คือ มาเลเซีย อยู่ที่ 56%

      ผลการสำรวจพบว่าไทยรั้งท้ายในเรื่อง “ความเข้าใจในแนวโน้มการสูญเสียอุตสาหกรรมหลัก” (potential loss of core industry) และนอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การรับรู้ข้อมูลผ่านสื่อโทรทัศน์ของไทยนั้นสูงถึง 100% แต่กลับรับรู้ข้อมูลผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตต่ำที่สุดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม รายงานการวิจัยของ Ipsos นี้ถูกตั้งคำถามจากประเทศสมาชิกในหลายประเด็น คณะผู้แทนถาวรไทยฯเห็นว่า รายงานนี้ยังคงมีส่วนที่ต้องปรับปรุงในหลายประเด็น เช่น ส่วนการนำเสนอผลการสำรวจซึ่งควรแยกให้เป็นรายประเทศ เพื่อจะได้สามารถแก้ไขการดำเนินงานได้ตรงจุดมากขึ้น อีกทั้งยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า การสำรวจยังไม่ครอบคลุมเสาสังคมและวัฒนธรรมมากนัก ทั้งนี้ การสำรวจควรทำผ่านช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดใน แต่ละประเทศ โดยผลการสำรวจทั้งหมดควรมีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมกว่านี้ เช่น ควรมีการแนะนำการสื่อสารเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป (ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 6 ธ.ค.55)

      อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีผลการสำรวจเกี่ยวกับอาเซียนออกมาเช่นกัน คือการสำรวจความรู้และความเข้าใจของนักศึกษา จากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศต่อพัฒนาการของประชาคมอาเซียน อาจเป็นตัวบ่งชี้อันหนึ่งว่า สังคมใดมีความตระหนักรับรู้และเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมาก น้อยเพียงใด นักศึกษาคือปัญญาชนที่ในอนาคตจะทำหน้าที่ผู้นำของสังคม มุมมองของคนเหล่านี้จึงอาจเป็นพื้นฐานของการปรับตัวของแต่ละสังคมในอนาคตได้ จากงานศึกษาเรื่อง Attitudes and Awareness toward ASEAN: Findings of a Ten Nation Survey (ทัศนคติและการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน: ข้อค้นพบจากการสำรวจสิบประเทศ) ของ ASEAN Foundation (มูลนิธิอาเซียน) เมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยนักวิจัยหลักสองท่าน ได้แก่ Dr. Eric C. Thompson จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และ ผศ.ดร.จุลนี เทียนไทย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำรวจนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสมาชิกอา เซียนทั้งสิบประเทศ (อาทิ มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยมลายา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น) จำนวนประเทศละ 200-220 คน รวมทั้งสิ้น 2,170 คน ทำให้เราทราบถึงความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่ออาเซียนของปัญญาชนทั้งสิบ ประเทศ โดยมีข้อค้นพบที่สำคัญ ดังนี้

  1.  ภาพรวมต่ออาเซียน นักศึกษาส่วนใหญ่รวมทั้งไทยมองอาเซียนในด้านบวก ส่วนนักศึกษาจากกัมพูชา ลาวและเวียดนามจะกระตือรือร้นเป็นพิเศษต่อความร่วมมือกับอาเซียน ส่วนสิงคโปร์จะมองอาเซียนทั้งบวกและลบควบคู่กัน ขณะที่พม่าจะมีทัศนคติในทางลบหรือความแคลงใจกับอาเซียนมากกว่าประเทศอื่น

  2. ความเป็นพลเมืองอาเซียน นัก ศึกษาร้อยละ 88.5 คิดว่าประเทศของตนได้ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกอาเซียน และประมาณร้อยละ 70 คิดว่าตนจะได้ประโยชน์จากอาเซียน โดยนักศึกษาจากกัมพูชา ลาวและเวียดนามมีมุมมองเชิงบวกมากที่สุด ขณะที่นักศึกษาจากสิงคโปร์และพม่าเห็นด้วยในเรื่องนี้น้อยกว่าชาติอื่น ส่วนไทยเห็นด้วยร้อยละ 89.5 และร้อยละ 74.5 ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่ว่า ตนเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) หรือไม่นั้น ร้อยละ 76.8 ของนักศึกษาอาเซียนทั้งหมดเห็นด้วยว่าตนเป็นพลเมืองอาเซียน ส่วนนักศึกษาไทยเห็นด้วยร้อยละ 67 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ

        
  3. ความรู้ความเข้าใจต่ออาเซียน โดยเฉลี่ยนักศึกษาส่วนใหญ่สามารถระบุชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนได้ 9 ประเทศจาก 10 ประเทศ และสามารถระบุตำแหน่งประเทศอาเซียนในแผนที่ได้ 7 จาก 10 ประเทศ และร้อยละ 75 สามารถจดจำธงของอาเซียนได้ ยกเว้นกัมพูชา (ตอบถูกร้อยละ 63.1) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 38.6) และไทย (ร้อยละ 38.5) และ นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศที่จดจำปีที่มีการก่อตั้งอาเซียนได้น้อยที่สุดแม้ ว่าอาเซียนจะถือกำเนิดในประเทศไทยก็ตาม โดยตอบถูกเพียงร้อยละ 27.5 เท่านั้น ขณะที่ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคคือร้อยละ 49.5

 

          จากผลการสำรวจข้างต้น สรุปได้ว่า เราคนไทยจำเป็นที่ต้องพัฒนาตนเอง และขวนขวายที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น เพื่อให้รู้จักอาเซียนอย่างจริงจัง ก่อนที่เราจะเป็นประเทศเบี้ยล่างของประเทศเพื่อนบ้าน เหมือนกับที่เราเคยใช้น้ำเสียง ท่าทาง ดูผิดประเทศและคนของประเทศเหล่านั้้นมาโดยตลอด สุดท้ายเราเองที่ไม่พัฒนาตนเอง

           แล้วอย่างนี้นักเรียนคิดว่าเราควรจะทำอย่างไร ลองเขียนแผนการพัฒนาตนเองมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันสัก 3 ข้อ

50 thoughts on “คนไทยกับการรับรู้เรื่องอาเซียน

Add yours

  1. 1. ศึกษาเรื่องราวของแต่ละประเทศ
    2. วางแผนในการดำเนินกิจการหรือทำการค้าขายระหว่างประเทศ
    3. ศึกษาภาษาสื่อกลางคือ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่เราควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

  2. 1.ศึกษาภาษาอังกฤษมากๆ เพื่อที่จะใช้ในการสื่อสาร
    2. ศึกษาข้อมูลแต่ละประเทศ
    3. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแต่ละประเทศและติดตามข่าวสาร

  3. 1.เรียนรู้ภาษาอื่นๆให้มากขึ้น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
    2.ศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศในอาเซียน
    3.ทำความเข้าใจในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน

  4. 1.ศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนแต่ละประเทศ
    2.สื่อสารกับชาวต่างชาติใน 10 ประเทศอาเซียน
    3.หาข้อมูลในประชาคมอาเซียน

  5. นางสาวพรรษา บัวใหญ่ ชั้น ม.๔/๑ เลขที่ ๓๒ พูดว่า:

    1.ศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    2.ฝึกฝนการพูดภาษาอังกฤษให้คล่องมากขึ้น
    3.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซี่ยน

  6. นางสาวอมรรัตน์ ฉิมเกล็ด ชั้น ม.4/1 เลขที่ 20 พูดว่า:

    1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาเซี่ยน
    2.ฝึกพูดให้ได้หลายภาษา เพื่อการติดต่อ
    3.ศึกษาข้อมูลการตลาดในภูมิภาคอาเซี่ยน

  7. นางสาวบุษรินทร์ สวัสดิ์พงษ์ ชั้น 4/1 เลขที่่ 13 พูดว่า:

    1.ศึกษาเกี่ยวกับภาษาต่างๆในสมาคมอาเซียน
    2.ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายในแต่ระประเทศในสมาคมอาเซียน
    3.ศึกษาเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ

  8. -ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการค้าของต่างประเทศ
    -เรียนรู้ในการเดินทางไปมาในต่างประเทศ
    -ได้ศึกษาการทำการเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านได้

  9. นางสาวประภัสสร แสงสิทธิ์ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 21 พูดว่า:

    1.ติดตามข่าวสารในภูมิภาคอาเซี่ยน
    2.ศึกษาภาษาต่างเช่นภาษาอังกฤษ
    3.ศึกษาเกี่ยวกับเศรฐกิจและการเคลื่อนไหวทางการค้า

  10. นาย อภิรักษ์ จักษุธรรม ชั้น 4/1 เลขที่่ 2 พูดว่า:

    1.ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศในประเทศอาเซียน
    2.ศึกษาภาษาอังกฤษให้มากขึ้น
    3.ศึกษาการทำงานของรัฐบาลต่างๆ

  11. น.ส.ธิดารัตน์ ผลพยุง ชั้น ม. 4/1 เลขที่ 12 พูดว่า:

    1.ทำความเข้าใจและศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน
    2.ศึกษาธรรมเนียมปฏิบัติ ของแต่ละประเทศ
    3.เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาของประเทศ ในกลุ่มอาเซียน

  12. นายณัฐพร หงษ์เจริญ ชั้น ม. 4/1 เลขที่3 พูดว่า:

    1.ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น
    2.ติดตามข้อมูลข่าวสาร
    3.ฝึกภาษาอังกฤษ

  13. นางสาวธนันต์ คราวกลาง ชั้น ม.4/1 เลขที่ 39 พูดว่า:

    1.ศึกษาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    2.ศึกษาวัฒนธรรมและการแต่งกายทั้ง 10 ประเทศ
    3.ควรทำความเข้าใจกับการใช้ภาษาในการพูดให้มากขึ้น

  14. นางสาว ดวงกมล ไตรลักษณ์ เลขที่ 46 ชั้น ม.4/1 พูดว่า:

    1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนมากขึ้น
    2.ศึกษาภาษาต่างประเทศในสมาคมอาเซียน
    3.ได้รู้จักวัฒนธรรมของกลุ่มอาเซียน

  15. 1.ศึกษาการค้าขาย การลงทุนของแต่ละประเทศในอาเซียน
    2.ศึกษาการเมืองการปกครองของประเทศในอาเซียน
    3.ศึกษาภาษาอังกฤษ ฝึกพูด เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น ใช้ในการลงทุนติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆในอาเซียน

  16. 1.เรียนรู้ภาษาให้มากขึ้น
    2.ศึกษากฎหมายละหว่างประเทศ
    3.ทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน

  17. นางสาวดวงกมล บุณศรีชั้นม.4/1 เลขที่24 พูดว่า:

    1.ศึกษาข้อมูลแต่ละประเทศในอาเซียน
    2.ศึกษาธรรมเนียมของแต่ละประเทศ
    3.ศึกษาภาษาเพิ่มเติ่ม

  18. โดยเฉลี่ยนักศึกษาส่วนใหญ่สามารถระบุชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนได้ 9 ประเทศจาก 10 ประเทศ และสามารถระบุตำแหน่งประเทศอาเซียนในแผนที่ได้ 7 จาก 10 ประเทศ และร้อยละ 75 สามารถจดจำธงของอาเซียนได้ ยกเว้นกัมพูชา (ตอบถูกร้อยละ 63.1) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 38.6) และไทย (ร้อยละ 38.5) และ นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศที่จดจำปีที่มีการก่อตั้งอาเซียนได้น้อยที่สุดแม้ ว่าอาเซียนจะถือกำเนิดในประเทศไทยก็ตาม โดยตอบถูกเพียงร้อยละ 27.5 เท่านั้น ขณะที่ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคคือร้อยละ 49.5

    1. ให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว เป็นของตนเองครับ ไม่ใช่คัดลอกความเห็นเขามา

  19. 1.ศึกษาการค้าขาย การลงทุนของแต่ละประเทศในอาเซียน
    2.ฝึกฝนการพูดภาษาอังกฤษให้คล่องมากขึ้น
    3. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแต่ละประเทศและติดตามข่าวสาร

  20. ประเทศไทย หาความ รู้ เกียวกับภาษากลุ่ม ประ ชาคมอา เชียน
    เราต้อง คึก ษาความหาความรู้ ระว่าง ประ เทศ อาเชียน

  21. 1.รู้เรื่องของอาเซี่ยนได้มากยิ่งขึ้น
    2.ได้รู้เรื่องภาษาของต่างประเทศ
    3.รู้จักอาเซี่ยนมากยิ่งขึ้น
    4.ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของต่างประเทศอาเซี่ยน

  22. 1.ศึกษาภาษาเพิ่มเติม
    2.ศึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศ
    3.ศึกษาด้านกฎหมายของแต่ละประเทศ

  23. รู้เรื่องต่างๆเกี่ยวกับอาเซียนและการใช้ภาษาต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนอาเซียน ถ้าโรงเรียนทุ่งขนานมีห้องอาเซียนใหญ่ๆ ก็ดีนะ ค๊บบบบบบบ ^_^ ❤ จิงๆนะคับ

  24. มีการแรกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีการแรกเปลี่ยนภาษา และประโยชน์อีกมาก ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คนไทยควรจะศึกษาภาษาของประเทศเพืิ่อรับประชาคมอาเซียน

  25. โรงเรียนทุ่งขนานค๊าบบบบบบบ ห้องอาเซียนต้องมีให้ได้นะ ค๊าบบบบ ห้อง 4/2 ขอนะ อาจารย์ ❤

  26. 1.เราควรจะพัฒนาและแสดงออกให้ประเทศชาติอาเซี่ยนรับนู้
    2.ควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจในแต่ละประเทศ
    3.ดูการพัฒนาของแต่ละประเทศและนำมาปรับปรุงแก่ประเทศเราเอง

  27. 1.เราควรศึกษาเรื่องอาเซียนให้เข้าใจยิ่งขึ้น
    2.เข้าใจและปฎิบัติตนให้พลเมืองของอาเซียนที่ดี
    3.ศึกษาข้อมูลของประเทศในอาเซียนของเราให้เข้าใจยิ่งขึ้น

  28. ศึกษาข้อมูลเเต่ละประเทศมีการเตรียมตัวก่อนหน้า ศึกษาภาษาที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสือสาร รู้ประวัติวามเป็นมาของเเต่ละประเทสมากขึ่น

  29. 1.มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
    2.พัฒนาถิ่นฐานบ้านเมืองในประเทศ
    3.พัฒนาเด็กไทยกับภาษาอังกฤษ

  30. 1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซี่ยน
    2.ได้เรียนรู้ภาษาของประเทศอาเซี่ยน

  31. 1.ต้องมีการเรียนรู้เรื่องภาษาอังกฤษให้มากขึ้น
    2.ต้องมีความรู้ในการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียน

  32. 1.ต้องมีการศึกษาอาเซียนอย่างจิงจัง
    2.ศึกษาภาษาในอาเซียนให้เข้าใจ
    3.พัฒนาด้านการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

  33. 1.ศึกษาภาษาไห้มากขึ้นในกลุ่มสมาชิกอาเซียน
    2.ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับประเทศอาเซียน
    3.ทำความเข้าใจการปฏิบัติในกลุ่งสมาชิกอาเซียน

  34. 1.ศึกษาภาษาอังกฤษ
    2.ศึกษาธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละประเทศ
    3.ศึกษาประวัติความเป็นมาของแต่ละประเทศ

  35. นางสาวศิรดา ผิวทอง ชั้น ม.๔/๑ เลขที่ ๔๑ พูดว่า:

    1.มีการพัฒนาในด้านการค้าอย่างมีเสรีภาพมากขึ้น
    2.มีความมั่นคงทางด้านอุตสาหกรรมและทางด้านเทคโนโลยี
    3.มีการร่วมมือในทุกทุกด้านในด้านต่างๆเพื่อยกระดับชีวิต

  36. 1.ควรให้ทุกคนพูดให้หลายภาษา
    2.มีการพัฒนาตัวเองให้เข้าอาเชียน
    3.ควรมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของอาเชียน

  37. 1.รู้สึกว่าไทยเราจะเสียเปรียบด้านการสื่อสารมาก ควรตื่นตัวกันได้แล้ว
    2.ตั้งใจจดจำ ศึกษาอาเซี่ยนให้มากที่ีสุด
    3.เพื่ออนาคตของประเทศ เราต้องตั้งใจ

  38. 1. ศึกษาเรื่องราวของแต่ละประเทศ
    2.ศึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศ
    3.พัฒนาเด็กไทยกับภาษาอังกฤษ

  39. 1.เพื่อศึกษาหาความรู้ที่จะเข้าสู่อาเซียน
    2.สนใจเเละพัฒนาที่จะเข้าสู่อาเซียน
    3.ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน

  40. นางสาวเบญจวรรณ สุระเสียง ชั้น ม.๔/๑ เลขที่ ๑๙ พูดว่า:

    1.มีการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซี่ยน
    2.มีการพัฒนาทางด้านเศรษกิจ
    3.มีการเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศ

  41. 1.ศึกษาเรื่องการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
    2.ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
    3.ศึกษาข้อมูลเรื่องการเมือง

  42. 1. ศึกษาเกี่ยวกับแต่ละประเทศให้เข้าใจ
    2. เรียนรู้ภาษาให้มากๆๆ
    3. ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจของแต่ล่ะอาเซี่ยนให้มากๆๆ

  43. 1. ศึกษาเกี่ยวกับภาษาแต่ละประเทศให้เข้าใจ
    2. ศึกษาวัฒนธรรมแและประเพณีของแต่ละประเทศให้ได้มากที่สุด
    3. ศึกษาเกี่ยวกับการค้าขายและการลงทุนแต่ล่ะประเทศให้เข้าใจ

  44. นางสาว อภิญญา บุญภู่ ชั้น ม.4/1 เลขที่16 พูดว่า:

    1.ศึกษาและได้รู้เกี่ยวกับอาเซียน
    2.ศึกษาภาษาอังกฤษมากขึ้น
    3.ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนมากขึ้น

  45. นางสาว ศิรดา เหลืองอร่าม ชั้น ม.4/1 เลขที่45 พูดว่า:

    1.ได้ศึกษาหาความรู้ความเข้าใจ ทางเศรษฐกิจ
    2.มีความรู้ความเข้าใจในความหมายของอาเซียน
    3.ได้ศึกษาแหล่งความรู้ของกลุมอาเซียน

  46. นางสาว จิราภรณ์ วงษาชัยม ชั้น ม.4/1 เลขที่ 26 พูดว่า:

    1.ได้เข้าใจความหมายของอาเซียน
    2.ได้ค้นคว้าและศึกษาเศรษฐกิจของอาเซียน
    3.ได้ทำความเข้าใจในภาษาของกลุ่มอาเซียน

ส่งความเห็นที่ นาย อมรเทพ อุ่นใจ ชั้นม.4/1 เลขที่7 ยกเลิกการตอบ

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Up ↑