ทบทวนเรื่องการลา:ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

     เรื่องราวว่าด้วยการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  อาจดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ ใกล้ตัวที่บางครั้ง บางคนอาจมองข้ามความสำคัญ แต่จริงแล้วการลาเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและองค์กรของเพื่อนครูอย่างเลี่ยงไม่ได้

 

    เพราะการลาป่วย ลากิจส่วนตัว ซึ่งเป็นการลาที่ส่วนใหญ่พวกเราใช้บริการบ่อยครั้ง มีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเกี่ยวโยงไปถึงการขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ของเพื่อนข้าราชการครูที่รับข้าราชการมาเป็นระยะเวลานาน ๒๕ ปีขึ้นไป

    วันนี้เลยขอนำเสนอเรื่องราวว่าด้วยเรื่องการลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนาตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ก.ค.ศ. มีมติให้นำระเบียบดังกล่าวมาบังคับใช้กับเพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยอนุโลม ตามหนังสือ ก.ค.ศ. ที่ ศธ. ๐๒๐๖.๗/ ๔๒ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๕ โดยเฉพาะการลาป่วย ลากิจส่วนตัว ซึ่งใกล้ตัวเพื่อนข้าราชการครูเรา

     การลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ. ๒๕๕๕ มี  ๑๑  ประเภท  คือ

๑.      การลาป่วย

๒.      การลาคลอดบุตร

๓.      การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

๔.      การลากิจส่วนตัว

๕.      การลาพักผ่อน

๖.      การลาอุปสมบทหรือการไปประกอบพิธีฮัจย์

๗.      การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

๘.      การลาไปศึกษา ฝึกอบรม  ปฏิบัติการวิจัย  หรือดูงาน

๙.      การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

๑๐.    การลาติดตามคู่สมรส

๑๑.    การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

วันนี้ขอเน้นไปที่ลาป่วยและลากิจส่วนตัว

       การลาป่วย  หมายความว่า  เป็นการลาหยุดเพื่อรักษาตัวเมื่อมีอาการป่วย

หลักเกณฑ์การลา

           – ลาป่วยติดต่อกันตั้งแต่สามสิบวันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์

          – การลาป่วยไม่ถึงสามสิบวัน ไม่ว่าจะเป็นครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน ถ้าผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นสมควรจะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ของทางราชการ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้

          –  มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาป่วยปีหนึ่งได้  ๖๐ – ๑๒๐ วัน

การเสนอหรือจัดส่งใบลา

         –  ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ  จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต

         – ให้เสนอ  หรือจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลาก็ได้ ยกเว้นในกรณีจำเป็นจะเสนอหรือจัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้

         – กรณีป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่น ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วต้องเสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว

         – การลาป่วย แม้จะมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นในระหว่างลาป่วยอยู่นั้น ผู้มีอำนาจอนุญาตก็ไม่สามารถเรียกตัวผู้นั้นมาปฏิบัติงานได้ ทั้งนี้เพราะการลาป่วยเป็นเรื่องจำเป็น

          การลากิจส่วนตัว หมายความว่า เป็นการลาหยุดเพื่อทำธุระ  เช่น ลาหยุดเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นต้น

 การลากิจส่วนตัวอาจแยกได้  ดังนี้

(๑)     การลากิจส่วนตัว  (ด้วยเหตุอื่น)

(๒)     การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร

      หลักเกณฑ์การลากิจส่วนตัวด้วยเหตุอื่น

–    มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา เมื่อมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นในระหว่างลากิจส่วนตัวอยู่นั้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวผู้นั้นมาปฏิบัติงานก็ได้

หลักเกณฑ์การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร

– ข้าราชการที่ได้ลาคลอดบุตร ๙๐ วัน (นับวันหยุดราชการรวมด้วย) โดยได้รับเงินเดือน(ตามที่กำหนดในข้อ ๑๙)แล้ว มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ  โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา

– ระหว่างลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร แม้จะมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นในระหว่างลาอยู่นั้นผู้มีอำนาจอนุญาตก็ไม่สามารถเรียกตัวผู้นั้นมาปฏิบัติงานได้

การเสนอหรือจัดส่งใบลา  (ลากิจส่วนตัวด้วยเหตุอื่น หรือเพื่อเลี้ยงดูบุตร)

– ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต

– ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงหยุดราชการได้ เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถรอรับอนุญาตได้

-ให้จัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุจำเป็นไว้แล้วลาหยุดไปก่อนได้  แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว หรือมีเหตุพิเศษ ที่ไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนหยุดได้ เมื่อหยุดไปแล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตทราบทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

อำนาจการอนุญาตการลา

        ผู้อำนวยการสถานศึกษา

  • ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วันทำการ

  • ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน  ๓๐  วันทำการ

นอกเหนือจากนี้เป็นอำนาจ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

ส่วนเกณฑ์การลาบ่อยครั้ง ก็ไม่ควรหลงและลืม

  • ปฎิบัติงานในโรงเรียน ลาเกิน ๖ ครั้ง

เกณฑ์การมาสายเนื่องๆ

  • ปฎิบัติงานในโรงเรียน สายเกิน ๘ ครั้ง

เพราะข้อพึงระวัง

  • ลาเกิน(ลาบ่อยครั้ง)จำนวนครั้งที่กำหนด ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน

  • เว้นแต่ถ้าวันลาไม่เกิน ๑๕ วันและมีผลการปฏิบัติงานดีเด่นอาจผ่อนผันให้เลื่อนขั้นเงินเดือนได้

    • มาทำงานสายเนื่องๆ ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
    • ลาป่วย + ลากิจส่วนตัว เกินกว่า ๒๓ วันทำการ ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน

    จึงอยากทบทวนเพื่อให้เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเรา ๆ ไม่พลาดในเรื่องใกล้ตัว

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนาตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๕๕

One thought on “ทบทวนเรื่องการลา:ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

Add yours

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Up ↑

%d bloggers like this: