ผู้เรียนเป็นสำคัญ ::จิตศึกษา::

     ทุกวันเช้าศุกร์ หลังเลิกแถวหน้าเสาธง  นักเรียนทุกคนจะมาทำกิจกรรมจิตศึกษาร่วมกันทั้งหมดของโรงเรียน

ทั้งนี้การทำกิจกรรมจิตศึกษาในเช้าวันศุกร์จะมีผู้นำในการทำกิจกรรมคือนักเรียนในแต่ละระดับชั้น โดยมีการสับเปลี่ยนหนุมเวียนกันไป

เช้านี้เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผู้นำกิจกรรม โดยเด็กชายอยู่ บาน ตัวแทนนักเรียนชั้นม.3 ร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเป็นแกนนำในการทำกิจกรรม

สิ่งหนึ่งที่เป็นที่สังเกตช่วงของการทำกิจกรรม Brain Gym เด็กชายอยู่  บาน พาพี่ๆน้องๆ ทำท่าโดยใช้มือประกอบ 3 ท่า

IMG_20190913_083721

ประสานมือ

                                            กำปั้นชนกัน                                                  พนมมือ

      ภายหลังจากที่เด็กชายอยู่ได้สาธิต 3  ท่าแก่นักเรียนทุกคนทราบ  ก็ให้นักเรียนในวงจิตศึกษาเลือกเพียงแค่ 1 ท่าที่ตนเองชอบที่สุด

     จากนั้นให้นักเรียนทุกคนในวงเลือกท่าที่ชอบ 1 ท่าตามลำดับ  จากนั้นเด็กชายอยู่ ก็ทำหน้าที่พยากรณ์ความรู้สึกของทุกคนในวงจิตศึกษา

      คนที่เลือกการ ประสานมือ  – แทนด้วยสีเขียว หมายถึงความ กล้าหาญ / กล้าแสดงออก ในที่นี้มีนักเรียน แสดงออกด้วยท่ามือประสานกันประมาณ 10 %

     คนที่เลือกการ พนมมือ – แทนด้วยสีฟ้า หมายถึงความ สงบ ในที่นี้มีนักเรียน แสดงออกด้วยท่ามือพนมมือกันประมาณ 50 %

     คนที่เลือกการใช้กำปั้นชนกัน  – แทนด้วยแดง หมายถึงความ โกรธ/ไม่พอใจ ในที่นี้มีนักเรียน แสดงออกด้วยท่ากำปั้นชนกันประมาณ 40 %

      เด็กชายอยู่ใช้การทำ Brain Gym ด้วยท่า 3 ท่านี้

      IMG_20190913_082958

       หลังจากการทำกิจกรรมจิตศึกษาเสร็จ  ผมจึงเรียกเด็กชายอยู่มาคุยด้วย   เพื่อการเรียนรู้วิธีคิดของเขา

     ผอ: อยู่ทำไมหนูถึงใช้ท่าBrain Gym 3 ท่านี้

     อยู่: ผมอยากทำอะไรที่ใหม่ๆ. ไม่ซ้ำของเดิมครับผอ.

      ผอ: อยู่คิดมานานยัง

      อยู่:3 วัน แล้วครับผอ.

      ผอ: ดีนะ. กล้าคิด และสร้างสรรค์ดี

      ผอ: อยู่ หนูคิดว่าการทำจิตศึกษาโดยการทำรวมกันแบบนี้หนูคิดว่าดีไหม

      อยู่: มันก้อดีครับผอ. การทำรวมกันทั้งหมด จะเป็นการทำให้นักเรียนแต่ละห้องได้มีการคัดเลือกคนเก่ง คนกล้า ออกมาเป็นแกนนำในการทำกิจกรรม. การทำในห้อง นักเรียนมีส่วนร่วมน้อย ครูเป็นผู้นำทำกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่
             แต่ผมอยากให้ครูลงมานั่งในวงทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับเด็ก เป็นการสร้างความเป็นกันเองให้เพิ่มมากขึ้

      ผอ: ก้อดีนะความคิดเรา. แล้วเราคิดไงกับการทำกิจกรรมจิตศึกษาที่ผ่านมา

      อยู่ :ผมมองการทำจิตศึกษาเหมือนการก้าว ๓ ก้าวตอนนี้เรายังอยู่แค่ก้าวแรกเท่านั้นเองครับ

      ผอ: แล้วทำอย่างไรจึงจะไปยังก้าวที่ ๒ และถึงก้าวที่ ๓ ที่เราคิด อยากให้ลองเสนอแนะปรุงแต่งเสนอแนะดูสิ เพื่อให้ทำจิตศึกษาไปถึงก้าวที่ ๓ เหมือนการทานก๋วยเตี๋ยว ต้องปรุงก่อนทานเสมอ คงไม่มีใครทานโดยไม่ปรุงมีก้อน้อย

     อยู่:ทานก๋วยเตี๋ยวทุกวันมันก็เบื่อนะครับ ผอ. (สวนทันที)

    ผอ: อ้าว

    อยู่ :มัน ๆ  เปลี่ยนบ้าง จิตศึกษาก็เหมือนกินก๋วยเตี๋ยว ทำทุกวันซ้ำ ๆ ผมก็เบื่อ อยากให้มีกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซาก จำเจ

   ผอ: แล้วดีไหม การทำจิตศึกษา

   อยู่: ดีครับ แต่ผมมองว่าเด็กบางคนยังไม่มีความกล้าพอที่จะคิดและแสดงออกมา อยากให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออกมากกว่านี้

 …เรียกครูวนิดามาร่วมรับฟัง….

    ผอ: หนูบอกครูสิว่าหนูรู้สึกอย่างไร

“………………………………………………………………………………………..”

    ครูวนิดา: หนูคิดหรือผอ.คิด                                             

     อยู่ : ผมคิดครับ     

     ผอ:หนูมีอะไรจะเสนออีกไหม… 

     อยู่:..เสนอได้ใช่ไหมครับ    

     ผอ: ได้…ทำไมจะไม่ได้ยินดีเลย

     อยู่:ผมเคยพูดในที่ประชุมสภานักเรียนหลายครั้ง

     ผอ: อะไรเหรอ…      

     อยู่ :..ผมอยากให้มีออดในโรงเรียน

     ผอ: การที่ไม่มีออดมันเป็นการฝึกตัวเองด้วยตัวเราเอง โดยไม่ให้มีสิ่งใด/วัสดุใดมากำหนดให้ว่าเราจะทำอะไรตอนไหน เหมือนไก่กับนกกาเหว่าที่ส่งเสียงขันหรือร้องเป็นเวลา โดยไม่มีสิ่งใดมาคอยเตือน มันรู้ตัวของมันเอง
     …เหมือนกับเรา ถ้าเราฝึกให้ตัวเรามีวินัยในตัวเองได้เอง โดยที่ไม่มีสิ่งใดมาบอก มาเตือน เราสามารถทำได้เองโดยอัตโนมัติ จะดีกว่าไหม ฝึกตัวเราเองเริ่มที่ตัวเรา

    อยู่: ครับ (ยิ้มบาน)        

…………………………………………..

“เด็กยุดใหม่ ถ้าเราเปิดประตูของความไว้วางใจ  เขาก็จะ  กล้าคิด

กล้าทำ  กล้าพูด (นำเสนอ) แต่ต้องไม่ก้าวร้าว”

original_original_banneranigif

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Up ↑

%d bloggers like this: