คนไทยกับการรับรู้เรื่องอาเซียน
จากคอลัมน์ รู้จักอาเซียน โดย คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียนณ กรุงจาการ์ตา รายงานผล “การสำรวจความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน” (Survey on ASEAN Community Building Efforts) ซึ่งจัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Ipsos Business Consulting การสำรวจครั้งนี้เป็นการวิจัยในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยผลการสำรวจความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนแสดงว่า ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมมีความเข้าใจพื้นฐาน และมีความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวกับอาเซียน โดยคาดหวังว่าเออีซีจะมีส่วนพัฒนาเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีผ่านการรับรู้จากสื่อต่าง ๆ อ่านเพิ่มเติม “คนไทยกับการรับรู้เรื่องอาเซียน”
ภาษาอังกฤษกับอาเซียน
กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English”“ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์สู่ภูมิภาคอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน
ในปี พ.ศ. 2558 แรงงานมีฝีมือหรือมีทักษะและนักวิชาชีพทั้งหลายจะสามารถเดินทางข้ามประเทศใน ภูมิภาคอาเซียนไปหางานทำได้สะดวกมากขึ้นและจะทำได้โดยเสรี หมายความว่า คนจากประเทศอื่นในอาเซียนก็จะสามารถมา สมัครงาน หางานทำ หรือแย่งงานเราไปทำได้ เพราะมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอาเซียน ในเรื่องนี้เองที่ภาษาอังกฤษจะเป็นมาตรฐานกลางที่สำคัญอันจะนำไปสู่การเรียน การฝึกฝนอบรมในทักษะวิชาชีพต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงจำจะต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้และให้ดีไม่แพ้ ชาวชาติอื่นๆในอาเซียน หากทำได้อย่างน้อยก็จะเป็นการปกป้องโอกาสในการทำงานในประเทศไทยของเรามิให้ เพื่อนอาเซียนมาแย่งงานของเราไปได้ แต่หากเราไม่เก่งทั้งทักษะภาษาและทักษะวิชาชีพเราก็จะหางานทำในประเทศของเรา เองสู้คนชาติอื่นไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่เราจะเข้าไปแข่งขันหางานทำในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ การมีทักษะวิชาชีพเสมอกันในคุณภาพแต่กลับความอ่อนด้อยในเรื่องภาษาอังกฤษก็ เป็นจุดอ่อนที่จะทำให้โอกาสการหางานทำในอาเซียนลดลง แม้จะหางานทำในประเทศไทยเองก็ตามก็จะยากมากขึ้น
ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป
จากบทความ “การใช้ภาษาอังกฤษ กับอนาคตของไทยในอาเซียน” โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล 24 กรกฎาคม 2554
แล้วนักเรียนจะมีวิธีการในการพัฒนาตนเองอย่างไร ช่วยแสดงออกทางความคิดกันหน่อยครับ
อะไรคือ ULTRABOOK ?
ยุคนี้สมัยนี้ใครไม่รู้จักแท็บเล็ตคงไม่ใช่แล้ว เพราะกระแสกำลังมาแรง จนคนเริ่มคิดว่า หรือว่าจะหมดยุคของโน๊คบุ๊คและคอมพิวเตอร์พีซีแล้ว
อย่างไรก็ตามถ้ามองถึงการใช้งานแล้วแท็บเล็ตเอง ก็ยังไม่สามารถทดแทนพีซีและโน๊ตบุคได้ทั้งหมด โดยจุดเด่นของแท็บเล็ตเป็นฝั่งผู้บริโภคมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาข่าวสาร และการค้นหาข้อมูล ด้วยจุดแข็งด้านความสะดวกในการพกพา และการเข้าถึงระบบเครือข่าย รวมทั้งความง่ายในการใช้งานแบบทัชสกรีน
ในขณะที่หลายคนเริ่มรู้จัก และให้ความสนใจกับ แท็บเล็ท (Tablet)ทั้ง iPad ของบริษัท Apple หรือ Samsung Galaxy และอีกหลายๆ ค่ายดังในท้องตลาดปัจจุบัน
เทคโนโลยีในยุคถัดไป จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของ อัลตราบุ๊ค (Ultrabook)
กรณีศึกษา “เถ้าแก่น้อย”
![]() บทความโดย นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โสภณ รัตนจันทร์ กิตติพงศ์ แสงเจริญวนากุล ดนัย ทรัพย์พิทักษ์ดี เทพ นีรนาทภูรี วุฒิชัย ชาโญพงษ์ “จุด เริ่มต้นของชัยชนะไม่จำเป็นจะต้องเริ่มจากเงินลงทุนมหาศาล ในทางกลับกันการหาลู่ทางที่คนอื่นมองข้ามแล้วรุกคืบด้วยความเงียบ เงินลงทุนจึงไม่ใช่สิ่งสำคัญ” นี่คือแนวคิดเล็กๆ ของกลยุทธ์เล็กๆ สำหรับธุรกิจเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จมานักต่อนัก กลยุทธ์ที่ว่านี้หลายๆคนรู้จักกันในนาม “กลยุทธ์การตลาดแบบกองโจร หรือ Guerrilla Marketing” เถ้าแก่น้อยคืออะไร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 ซึ่งก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 5 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มผลิตสาหร่ายทะเลอบกรอบ ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “เถ้าแก่น้อย” ภาพลักษณ์ของ เถ้าแก่น้อย คือ อาหารว่าง หรือ ที่เรียกกันว่าขนมขบเคี้ยว ที่ทำมาจากสาหร่ายทะเลที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และนอกเหนือจากรสชาติที่แสนอร่อย ผู้บริโภคยังจะได้รับคุณค่าทางอาหารอื่นๆอีก เช่น เส้นใยอาหาร โปรตีน ธาตุเหล็ก และ แคลเซียม ซึ่งสามารถเรียก เถ้าแก่น้อยอีกอย่างว่า เป็นอาหารทานเล่นเพื่อสุขภาพ อ่านเพิ่มเติม “กรณีศึกษา “เถ้าแก่น้อย”” |